การจัดเก็บและการดูแลข้อมูล

การจัดเก็บ
          การจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะใช้รหัสที่เป็น 0 หรือ 1 ที่เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า กรณีที่สัญญาณไฟปิดหรือแรงดันไฟฟ้าต่ำ กำหนดให้เป็นรหัส 0 สัญญาณไฟเปิด หรือแรงดันไฟฟ้าสูงกำหนดให้เป็นรหัส 1 การจัดเก็บข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ดังนี้
บิต (Bit or Binary Digit) คือหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้เลขฐานสองหนึ่งหลักเป็นสัญลักษณ์ คือ 0 หรือ 1 
          ไบต์ (
Byte) ไบต์ คือกลุ่มของเลขฐานสองหลาย ๆ ตัว หรือหลายบิตนำมารวมกัน เช่นนำเลขฐานสองจำนวน 8 บิต มารวมกันเป็น 1 ไบต์    ซึ่งข้อมูล 1 ไบต์ สามารถเก็บตัวอักขระที่เป็นตัวอักษร ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 1 ตัวอักษร เรียกว่า 1 Character ตัวอย่างเช่น 01000001 ใช้เป็นรหัสแทนตัวอักษร A รหัส 01000010 ใช้เป็นรหัสแทนตัวอักษร B เป็นต้น
          คำ (Word) คำ  หมายถึง หน่วยของข้อมูลกลุ่มหนึ่ง จำนวนหนึ่งไบต์หรือมากกว่า เช่น ถ้ากำหนดให้หนึ่งคำเท่ากับ 2 ไบต์ แสดงว่าหนึ่งคำมีค่าเท่ากับ 16 บิต 
          ฟิลด์ (
Field) ฟิลด์ หมายถึงการเก็บข้อมูล 1 ตัวอักษรหรือมากกว่าที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกันไว้ สามารถสื่อความหมายและบอกคุณลักษณะที่เราสนใจได้ เช่น ใช้ตัวอักขระจำนวน 8 ตัว มาประกอบกันเป็นชื่อคนเช่น ชื่อบุญสืบ ประกอบด้วยตัวอักษร BOONSUEP ตั้งชื่อฟิลด์นี้ว่าฟิลด์ NAME เพื่อใช้ในการเก็บชื่อ ข้อมูลชนิดฟิล์นี้จะใช้แทนข้อเท็จจริง คุณลักษณะของสิ่งที่เราสนใจศึกษา เช่น รหัสพนักงานชื่อ ที่อยู่ วันเกิด เงินเดือน ฯลฯ เป็นต้น
          เรคอร์ด (Record) เรคอร์ด หมายถึง  การเก็บข้อมูลประเภทฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันหลาย ๆ ฟิลด์ รวมกัน เป็นชุดข้อมูลเราจะเรียกว่าหนึ่งเรคอร์ด เช่น เรคอร์ดของนักศึกษาประกอบด้วย ฟิลด์รหัสนักศึกษา ชื่อ-สกุลคะแนน แผนก ฯลฯ เป็นต้น
          ไฟล์ (File) ไฟล์ หมายถึง  การเก็บข้อมูลประเภทเรคอร์ดที่มีความสัมพันธ์กันหลาย ๆ เรคอร์ด เช่นไฟล์ที่เก็บข้อมูลพนักงาน นักศึกษา รายการสินค้า ฯลฯ   เป็นต้น
          ฐานข้อมูล (
Database) ฐานข้อมูล หมายถึง การรวบรวมไฟล์ ที่มีความสัมพันธ์กันมาเก็บไว้ ด้วยกัน เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการจัดการข้อมูลและการนำไปใช้ อีกทั้งยังช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ขององค์กรอีกด้วย เช่นฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลรายการสินค้า ฐานข้อมูลนักศึกษาเป็นต้น
รหัสแทนข้อมูล
          1. รหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC): Extended Binary Coded Decimal Interchange Code) เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมของไอบีเอ็มยังคงใช้รหัสนี้  การกำหนดรหัสจะใช้ 8 บิตต่อหนึ่งอักขระเหมือนกับรหัสแอสกี แต่แบบของรหัสจะกำหนดแตกต่างกันแต่ละบิตใช้แทนอักขระ ดังนี้
2. รหัสแอสกี (ASCII: American Standard Code Information Interchange) เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมาก ในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นรหัส 8 บิต แทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 256 ตัว           
3.รหัสยูนิโค๊ด Unicode คือ รหัสคอมพิวเตอร์ใช้แทนตัวอักขระ สามารถใช้ โดย Unicdoe รุ่นปัจจุบันสามารถเก็บตัวอักษรได้ถึง 34,168 ตัวจากภาษาทั้งหมดทั่วโลก 24 ภาษาแทน ตัวอักษร,ตัวเลข,สัญลักษณ์ต่างๆ ดังนั้น Unicode จึงถือเป็นมาตรฐานในการกำหนดรหัส
หน่วยวัดขนาดข้อมูลของคอมพิวเตอร์
8 BIT (บิต) = 1 Byte (ไบต์)      = 1 ตัวอักษร
1
,024 B     = 1 KB (กิโลไบต์)    = 1,024 ตัวอักษร
1
,024 KB  = 1 MB (เมกะไบต์)   = 1,048,576 ตัวอักษร
1
,024 MB  = 1 GB (กิกะไบต์)    = 1,073,741,824 ตัวอักษร
1
,024 GB   = 1 TB (เทระไบต์)   = 1,099,511,627 ตัวอักษร

                                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น