ระบบคอมพิวเตอร์

เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
          หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. บุคลากร (People ware)
4. ข้อมูล (Data)

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
          หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
          หมาย ถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใด ภาษาหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ได้เพื่อกำหนดให้ส่วนของฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
   2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
   2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟท์แวร์ระบบ
          คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ระบบ             
1. ระบบปฏิบัติการ                                                                 
2. ตัวแปลภาษา                                                                    
3. ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์

1. ระบบปฏิบัติการ (System software)
          หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
2. ตัวแปลภาษา
          ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก้
3. โปรแกรมอรรถประโยชน์
          โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้(utility programs) เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เพื่อการจัดการงานพื้นฐานและบริการต่างๆ เช่น  การจัดเรียงข้อมูล (sort) การรวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับ แล้วเข้าด้วยกัน (merge) หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์  รับหนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง รวมทั้งสามารถใช้จัดการกับฮาร์ดแวร์โดยตรง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
          คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ  เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น ซอต์ฟแวร์ประยุกต์จำแนกได้ 2 ประเภท                                          ดังนี้ คือ  
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน
          คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
          เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ เช่น MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
3. บุคลากร (People ware)
          หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมในการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็น ไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ บุคลากรคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ ได้แก่
          1 วิศวกรคอมพิวเตอร์
          2 วิศวกรระบบ
          3 นักวิเคราะห์ระบบ
          4 นักโปรแกรมระบบ
          5 นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์
          6 พนักงานเตรียมข้อมูล
          7 พนักงานควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
          8 บรรณาธิการคอมพิวเตอร์
4. ข้อมูล (Data)
          หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงอาจเป็น ตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องป้อนเข้าในคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำการ ประมวลผลและผลิตผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการ


แบบฝึกหัด
จงวิเคราะห์ว่าคอมพิวเตอร์ในอนาคตจะสามารถทำอะไรได้บ้าง


บรรณานุกรม
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/
https://sites.google.com/site/5303103304peer/khwam-hmay-khxng-sxftwaer-prayukt
http://biology1993.wordpress.com/
http://cdn0.mos.techradar.futurecdn.net///art/magazines/Linux/Issue%20171/LXF171.feat_50distros.fedora-578-80.jpg
http://krunhon25.blogspot.com/p/blog-page_28.html
http://biology1993.wordpress.com/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น