อุปกรณ์รับ – ส่งข้อมูล

          อุปกรณ์รับส่งข้อมูล หมายถึง สื่อกลางที่ใช้เป็นเส้นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง ปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูล สำหรับการเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้หลายประเภทดังนี้
การรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย
1.สายโทรศัพท์ (Telephone Line) 
          สายโทรศัพท์ เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ใช้กันมานาน ในระบบการสื่อสารข้อมูล แบ่งเป็นสองลักษณะด้วยกันคือ                                                      1.1 สายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshield Twisted Pair : UTP) มีลักษณะเป็นสายทองแดงขนาดเล็ก มีฉนวนหุ้ม ในแต่ละคู่บิดเกลียวคู่เข้าด้วยกัน มีฉนวนหุ้มภายนอก ราคาถูก ติดตั้งง่าย มีความน่าเชื่อถือสูงในการเชื่อมต่อแบบ STAR แต่มีข้อเสียคือมีอัตราการส่งข้อมูลต่ำ มีระยะทางการส่งสัญญาณสั้น และสัญญาณรบกวนสูง
          1.2 สายคู่ตีเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shield Twisted Pair : STP) มีลักษณะเป็นสายทองแดงขนาดเล็กตีเกลียวคู่ แต่ละคู่มีฉนวนหุ้มอีกชั้นเรียกว่า Shield เพื่อลดสัญญาณสอดแทรก(interference) และมีฉนวนหุ้มชั้นนอกเรียกว่า Outer Jacket มีข้อดีคือคุณภาพการรับส่งข้อมูลสูงกว่าสายแบบ UTPสัญญาณรบกวนน้อยกว่าสายแบบ UTP แต่ราคาสูงกว่า
2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)  
          สายโคแอกเชียล เป็นสายที่มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล ประกอบด้วยสายตัวนำสัญญาณเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลาง เรียกว่า Inner Conductor หุ้มด้วยฉนวน Insulator Filter แล้วล้อมรอบด้วยตัวนำอีกชั้นหนึ่งทำหน้าที่เป็นสายดิน (Ground) เรียกว่า Outer Conductor สายโคแอกเชียลมีข้อดีเรื่องความเร็วสูงในการส่งข้อมูล สามารถส่งได้ทั้งสัญญาณเสียงวีดีโอและข้อมูล ติดตั้งง่าย แต่มีข้อเสียที่ราคาแพงและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงด้วย
3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)
           สายใยแก้วนำแสง เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูล ที่ต้องการความเร็วสูงมาก ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนสูง ลักษณะสายสัญญาณประกอบด้วยเส้นใย (Fiber) ทำจากใยแก้วสองชนิด ที่มีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ชนิดหนึ่งเป็นแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก การทำงานจะมีไดโอดเปล่งแสง (LED : Light Emited Diode) หรือไดโอดแบบเลเซอร์ (Laser Diode) ปล่อยแสงที่เข้ารหัสข้อมูล โดยใช้ความถี่จึงสามารถส่งรหัสข้อมูล ได้หลายช่องทางตามความถี่ต่าง ๆ กัน อุปกรณ์รับส่งข้อมูลแบบเส้นใยแก้วนำแสง มีข้อดีคือรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ใช้แสงในการส่งข้อมูล จึงไม่ต้องระมัดระวังเรื่องสัญญาณไฟฟ้ารบกวน มีการสูญเสียของสัญญาณต่ำ แต่มีข้อเสียคือราคาแพงกว่าสายสัญญาณประเภทอื่น ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง รับส่งข้อมูลได้ทางเดียว ต้องใช้สายสัญญาณสองเส้น เพื่อทำหน้าที่รับและส่งข้อมูล

2. การรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย
 2.1 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave)
           คลื่นไมโครเวฟ เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูล ที่ใช้คลื่นวิทยุชนิดความถี่สูง เรียกว่าคลื่นไมโครเวฟ โดยอาศัยอากาศเป็นสื่อกลาง เหมาะสำหรับการสื่อสารระยะใกล้ ที่ไม่มีตึกหรือภูเขาระดับสูง บังการเดินทางของคลื่น ระหว่างอาคาร โดยต้องมีจานสัญญาณ ติดตั้งไว้บนเสาหรืออาคารสูง ๆ การรับส่งข้อมูลแบบนี้ เหมาะสำหรับบริเวณที่เดินสายลำบาก มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนสูง ข้อเสียคือรับส่งสัญญาณได้ไม่ไกลมากนัก และต้องติดตั้งจานรับส่งสัญญาณบนเสาสูง ที่ไม่มีอาคารกีดขวางในทิศทางตรงกัน
2.2 ดาวเทียม (Satellite)
          ดาวเทียม เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ใช้ดาวเทียม เป็นสถานีในการรับส่งสัญญาณข้อมูล กับสถานีทวนสัญญาณภาคพื้นดิน รับส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่กว่า 22,300 ตารางไมล์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการกีดขวาง สัญญาณของภูมิประเทศ เช่น ภูเขา อาคารสูง สามารถ ส่งสัญญาณครอบคลุมได้ทุกพื้นที่ มีข้อเสียคือต้องลงทุน และใช้เทคโนโลยีระดับสูง
2.3 อินฟราเรด  (Intrared)
          เป็นลักษณะของคลื่นที่ใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ๆ ในช่วงความถี่ที่แคบมาก ใช้ช่องทางสื่อสารน้อย มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งกับตัวรับสัญญาณ โดยต้องใช้วิธีการสื่อสารตามแนวเส้นตรง ระยะทางไม่เกิน 1 – 2 เมตร ความเร็วประมาณ 4 -5 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังโทรทัศน์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่องโดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ เป็นต้น
2.4 คลื่นวิทยุ (radio frequency)
          ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยมีตัวกระจายสัญญาณส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กัน มีความเร็วต่ำประมาณ 2 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การสื่อสารในระบบวิทยุเอฟเอ็ม เอเอ็ม การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สาย และบลูทูธ

รูปแบบการรับส่งข้อมูล
    1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-Way หรือ Simplex )ในการส่งสัญญาณข้อมูลแบบ simplex ข้อมูลจะถูกส่งไปในทางเดียวเท่านั้น และตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การกระจายเสียงของ สถานี วิทยุ หรือ การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ ช่องทางการส่งข้อมูลจาก ซีพียูไปยังเครื่องพิมพ์  หรือจากเครื่องพิมพ์ไปยังจอภาพ เป็นต้น 
    2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-duplex transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งผู้รับและผู้ส่ง โดยแต่ละฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งข้อมูลได้ แต่จะต้องสลับกันทำหน้าที่ จะเป็นผู้ส่งและผู้รับข้อมูลพร้อมกันทั้งสองฝ่ายไม่ได้ เช่น การสื่อสารโดยวิทยุ
    3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-duplex transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล โดยทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถส่งข้อมูลได้พร้อม กัน เช่น การสื่อสารโดยใช้สายโทรศัพท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น