ความหมายและประเภทคอมพิวเตอร์

ความหมายและประเภทคอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึงอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเก็บและจำข้อมูลรวมถึงชุดคำสั่งในการทำงานได้ทำให้สามารถทำงานได้โดย อัตโนมัติ ด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้เพื่อประโยชน์ในการคำนวณหรือทำงานต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิดทุกประเภทและแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบต่าง ๆได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง คอมพิวเตอร์มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า Computare
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2540) ได้บัญญัติไว้ว่า Computer : คอมพิวเตอร์,คณิตกรณ์ หมายถึง เครื่องคำนวณหรือผู้คำนวณ มีหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบ (ประมวลผลข้อมูล) ตามคำสั่งที่มนุษย์จัดเตรียมไว้ในรูปแบบของโปรแกรมหรือชุดคำสั่งต่าง ๆ
คุณสมบัติเฉพาะของคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถคำนวณได้ เช่น ลูกคิด เครื่องคิดเลข แต่คอมพิวเตอร์มีความแตกต่างจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการคำนวณโดยทั่วไปคือ
          1. คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีหน่วยคำนวณและปฏิบัติการทางตรรกยะซึ่ง ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้ามากมาย ดังนั้นการคำนวณเปรียบเทียบจึงสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว
          2. คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำภายในเครื่อง ที่สามารถเก็บข้อมูลซึ่งอาจเป็นข้อความ ตัวเลข รูปภาพ ไว้ในหน่วยความจำภายในเครื่องเพื่อประโยชน์ในการเรียกใช้ข้อมูลปัจจุบันหรือ เรียกใช้ในภายหลังได้
          3. ผู้ใช้สามารถใช้ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่บอกขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์ต้องทำงานโดยเรียงลำดับการทำงานก่อน หลังหรือวิธีการประมวลผล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งที่อยู่ในโปรแกรมนั้นอย่างอัตโนมัติ
 
รูปที่1 แสดงลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป
    ที่มา http://www.educationlife5.com/IT/b1.2.html
กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์
กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ มี 3 ขั้นตอน คือ
รูปที่ 2  แสดงขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์
1. รับเข้า (Input) คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลเข้ามา แล้วปฏิบัติตามคำสั่งข้อมูลนั้น อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง
          2. ประมวลผล (
Process) คอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณ เปรียบเทียบ วิเคราะห์ โดยการใช้คำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น
          3. ส่งออก (
Output) คอมพิวเตอร์จะนำผลที่ทำการประมวลผลเสร็จเรียบร้อยมาแสดงในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สื่อความหมายและนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย
ประเภทของคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคมีความสามารถแตกต่างกัน   การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์จึงต้องอาศัยการแบ่งประเภทของเครื่อง ที่อยู่ใน ยุคเดียวกัน ซึ่งมีวิธีการแบ่ง 3 วิธี ดังนี้
          1. แบ่งตามวิธีการประมวลผล
 
          2. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
 
          3. แบ่งตามขนาดของคอมพิวเตอร์
          สำหรับการเรียนรู้เนื้อหานี้จะแบ่งคอมพิวเตอร์ตามวิธีที่ 3 คือแบ่งตามขนาดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.       ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super computer)
เป็น คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและขีดความสามารถสูงมาก สามารถต่อพ่วงไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ราคาค่อนข้างสูงเพราะการออกแบบและการผลิตต้องใช้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มาก นิยมใช้ในงานส่งดาวเทียมและยานอวกาศ สำหรับประเทศไทยมีใช้ที่กรมอุตุอนิยมวิทยา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นต้น 
           
รูปที่ 4 แสดงคอมพิวเตอร์แบบซูเปอร์
รูปที่ 3 แสดงคอมพิวเตอร์แบบซูเปอร์
ที่มา http://www.olcf.ornl.gov/titan
                                                                                    


2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
          เป็น คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่สามารถใช้งานกับข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ดีกว่าคอมพิวเตอร์แบบอื่น ๆ สามารถเชื่อมต่อไปยังปลายทางได้ ทำงานพร้อมกันได้หลายงานและใช้ได้หลายคนพร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ/ตู้เอทีเอ็ม(ATM) ของธนาคาร
รูปที่ 5 แสดงตู้เอทีเอ็ม
ที่มา http://www.ilovetogo.com/Article/76
รูปที่ 6 แสดงคอมพิวเตอร์แบบซูเปอร์
ที่มา http://www.olcf.ornl.gov/titan
 





3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
          เป็น คอมพิวเตอร์ขนาดกลางส่วนมากใช้กับหน่วยงานธุรกิจขนาดเล็กและมีราคาถูกลง สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกันเหมือนเครื่องเมนเฟรม แต่ขีดความสามารถในการต่อพ่วงน้อยกว่า หน่วยงานที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ กอง กรม มหาวิทยาลัย บริษัทห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล เป็นต้น



รูปที่ 7 แสดงคอมพิวเตอร์แบบมินิคอมพิวเตอร์
ที่มา http://www.shc.ac.th/
 


4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) 
          เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้กันทั่วไปและนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) คนทั่วไปนิยมเรียกว่า พีซี (PC) ใช้ตัวประมวลผลแบบชิพ (Chip) เป็นองค์ประกอบหลัก




รูปที่ 8 แสดงคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
ที่มา http://www.thaieditorial.com
 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น